ย่านคลองลัดมะยม


ย่านคลองลัดมะยม ในเขตตลิ่งชัน
เป็นคลองที่ถูกเลือกในโครงการแรกของ 
"ชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"








คลองลัดมะยม ซึ่งเป็นหนึ่งในคลองย่อยที่ถูกขุดมามากกว่า 60 ปี เพื่อเป็นการย่นระยะ ในการเดินทางไปยังคลองหลัก คือคลองบ้านไทร คลองบางระมาด คลองบางพรหม และคลองบางเชือกหนัง ทั้งนี้คลองย่อยที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะมีชื่อขึ้นต้นว่า “คลองลัด” แล้วตามด้วยชื่อเจ้าของที่ที่ถูกตัดผ่านไป เกิดเป็นคลองลัดต่างๆ ที่เชื่อมโยงสู่ คลองหลักเป็นโครงข่ายระบบน้ำ ซึ่งสอดรับกับวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างดีเป็นคลองเชื่อมระหว่าง คลองบางระมาด และคลอง บางพรหม นอกจากเป็นทางสัญจร ทำการเกษตร คูคลองยังผูกโยงถึงประเพณีวัฒนธรรม ยังคงบรรยากาศ ความเป็นธรรมชาติ

พื้นที่ย่านคลองที่อยู่ในโครงการ จากคลองลัดมะยม จนถึงย่านคลองบางระมาด ที่วัดจำปา
คลองลัดมะยม  แต่เดิมตั้งอยู่ด้านใต้ของถนนบางระมาด ในปี 2547 อีกสองปีต่อมาย้ายมาอยู่ด้านเหนือของถนนบางระมาด ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ไม่ใช่ตลาดน้ำขนาดใหญ่ แต่เป็นตลาดน้ำขนาดเล็กๆ ผู้ที่มาเที่ยวที่ตลาดแห่งนี้จะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในสวน นำของมาวางขายในตลาดที่ถูกสร้างขึ้นมาแบบง่ายๆ ซึ่งมีจุดกำเนิดจากคนในชุมชนโดยแท้จริง จากจุดเล็กๆที่ ลุงชวน หรือ คุณชวน ชูจันทร์ ซึ่งต่อมามีตำแหน่งประธานชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม ต้องการให้มีตลาดน้ำละแวกบ้าน ด้วยการชักชวนญาติมิตรคนใกล้ตัวมาช่วยกันขายของเพื่อให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจน โดยเริ่มเปิดตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 

ลุงชวน ชูจันทร์
แรกเริ่มเดิมที ลุงชวน มีความตั้งใจที่ชัดเจนในการทำตลาดน้ำคลองลัดมะยมแห่งนี้ คือ เพื่อเน้นการรักษาแม่น้ำลำคลองทำให้ชุมชนได้เห็นว่า คูคลอง ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นสิ่งที่มีค่า ต้องช่วยกันดูแลรักษาให้สะอาดสวยงามอยู่เสมอ ซึ่งธรรมชาติที่สวยงามนี้จะสร้างรายได้จากการขายสินค้าและการท่องเที่ยวได้ และ ประการที่ 2 คือเพื่อให้ชุมชนได้มีแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผลิตในชุมชน รวมทั้งสินค้าในชุมชนอื่นๆ ของกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ ขนมคาวหวาน ที่ทำสืบต่อกันมาหลายช่วงอายุคน และประการสุดท้ายคือเพื่อให้ชุมชนได้หวนกลับมาทำงานร่วมกันอีกครั้งรื้อฟื้นประเพณีที่ดีงามมีคุณค่าทางจริยธรรม เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นในชุมชน

พื้นที่สีเขียวคือเขตพื้นที่ที่ใช้ในการรณรงค์ในโครงการ
 ความร่วมมือ และความเข้มแข็งของชาวชุมชนคลองลัดมะยม และวัดจำปา

เนื่องจากชุมชนคลองลัดมะยมและวัดจำปา มีแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆของชุมชนอย่างต่อเนื่องและเสมอมา ประกอบกับการที่เป็นที่รัก เคารพ และนับถือของคนในชุมชน ซึ่งเมื่อถึงวาระที่ต้องการความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ จึงได้รับการตอบรับอย่างเต็มที่และเต็มใจจากชุมชนด้วยดีเสมอมา รวมทั้งชุมชนเอง ก็มีความหวงแหนและสำนึกรักในทรัพยากรท้องถิ่น อยากให้ทรัพยากรท้องถิ่นของตนนั้นคงอยู่ในสภาพที่ดีและสมบูรณ์ตลอดไป ซึ่งเมื่อมีการขอความร่วมมือจากคนในชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น 

โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำในคลองซึ่งใช้ในการอุปโภคและประกอบเกษตรกรรมของชุมชน โดยการขอความร่วมมือไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลและปล่อยน้ำเสียลงสู่คูคลองโดยตรง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาแหล่งน้ำเน่าเสีย ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากชุมชน จนทำให้คลองมีสภาพที่สะอาด น่ามอง ไร้ซึ่งสิ่งปฏิกูลต่างๆลอยอยู่ในคลอง รวมทั้งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปรับปรุงทัศนียภาพพื้นที่ริมคลองในพื้นที่บริเวณครัวเรือนของตนเอง ให้มีความสวยงาม น่ามองอีกด้วย


คลองลัดมะยม ชุมชนของที่นี่มีลักษณะชุมชนแบบกระจายตัว มีการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการจัดทำวิทยุชุมชน โดยการบริหารงานโดยชุมชนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ และครอบคลุบทั่วทั้งชุมชน ทำให้เกิดการรับรู้การเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมได้มากและรวดเร็ว รวมทั้งในพื้นที่ชุมชนยังมีตลาดน้ำคลองลัดมะยม เป็นพื้นที่ที่คนในชุมชน นำของมาขาย ก็มีพื้นที่หรือช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน คือ มีจุดประชาสัมพันธ์ภายในตลาดน้ำคลองลัดมะยม และมีบอร์ดประชาสัมพันธ์ของตลาดน้ำคลองลัดมะยม ติดไว้บริเวณหน้าห้องน้ำ ทางไปศาลาสายลมจอย ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยเสริมให้การประชาสัมพันธ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดตั้งเครื่องผลิตก๊าซชีวภาพที่นั่น โดยการสนับสนุนของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

มีขบวนการจัดการกับสิ่งแวดล้อม พร้อมให้ผู้สนใจศึกษาดูงาน

มีกิจกรรมที่ทำได้จริง ให้เรียนรู้และต่อยอดเครือข่าย

ภาพกิจกรรมเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้







ชุมชนวัดจำปา มีลักษณะชุมชนแบบกระจายตัว ออกเป็นหมู่ๆ เป็นบ้านเรือนส่วนบุคคลที่อยู่อาศัยริมคลอง ประธานชุมชนเคยได้ทำการติดตั้งเครื่องกระจายเสียงไว้ แต่ไม่สามารถใช้การได้ การสื่อสารในชุมชนจึงต้องใช้วิธีเคาะประตูบ้าน และบอกข่าวสารต่อ ๆ กันเมื่อมีการรณรงค์ทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ มีธุรกิจส่วนตัวและงานประจำ การจัดกิจกรรมจึงมีไม่บ่อยนัก แต่ประธานชุมชนไม่ได้ยอมแพ้ ยังคงชักชวนให้ผู้คนในชุมชนคอยช่วยกันรักษาน้ำ รักษาบ้านเรือน เท่าที่จะทำได้ โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด ซึ่งก็คือหน้าบ้านตน เพียงแค่ทำความสะอาดหน้าบ้านให้สะอาด เก็บขยะให้เป็นที่ทางในถังที่จัดไว้ ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว 

ถนนในชุมชนวัดจำปา

คุณทวีศักดิ์ หว่างจันทร์

ชุมชนวัดจำปามีการนัดประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง หรือ เมื่อมีงานสำคัญๆ ต่างๆ

ภาพกิจกรรมรณรงค์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น